วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2558

คลิปวิธีการตัดต่อหนังสั้นด้วยโปรแกรม Movie Maker




วิธีการใช้งานโปรแกรม Movie Marker

  

-ขั้นตอนแรกเปิดโปรแกรมมาก่อนเลยค่ะ โดยไปที่ Start > All Programs แล้วหาโปรแกรมนี้ให้เจอค่ะ สัญลักษณ์ของโปรแกรมเป็นแบบในภาพ


-เมื่อเปิดเข้ามาในโปรแกรม หน้าตาของโปรแกรมจะเป็นดังภาพ


ส่วนต่างๆ ของโปรแกรม
  • Movie Task เป็นแถบงาน ที่มีตำสั่งต่างๆ สำหรับการทำ VDO ให้เราเลือกใช้
  • Collection จะเป็นที่เก็บภาพ วีดีโอ เพลง ที่เรา Import เข้ามา
  • Preview ส่วนแสดงวีดีโอที่เราได้ทำขึ้น
  • Storyboard เป็นส่วนที่แสดงภาพข้อความ วีดีโอ เสียง ตามลำดับเวลา สามารถเปลี่ยนเป็นมุมมองแบบ Timeline ได้

มาดูในราละเอียดส่วนต่างๆ ของ Movie Tasks กันบ้าง มีทั้งหมด 4 ส่วน
  • Capture Video เป็นส่วนนำเข้าวีดีโอ รูปภาพ และเสียง
  • Edit Movie จะมีคำสั่งเกี่ยวกับการใส่ video effects, video transitionsหรือการเปลี่ยนภาพในวีดีโอ และการใส่ข้อความลงในวีดีโอ
  • Finish Movie ส่วนจัดการกับ VDO เมื่อทำเสร็จแล้ว
  • Movie Making Trips เป็นคำแนะนำการใช้ต่างๆ

-ปุ่มควบคุมการเล่นแสดงตัวอย่างวีดีโอ


เรามา เริ่มทำวีดีโอกันเลยค่ะ เริ่มจากการนำรูปเข้า โดยไปคลิกที่ Import Picture จากนั้นคลิกเลือกรูป และคลิก Import Note รูปที่นำมาทำวีดีโอ อาจจะเป็นรูปที่มีการ resize หรือลดขนาดแล้ว โดยปกติในวีดีโอที่ทำจะมีขนาด 640x480 ดังนั้นภาพที่มาทำไม่ควรเล็กหรือใหญ่เกินไป หากใหญ่จะทำให้วีดีโอที่ทำเสร็จมีขนาดใหญ่มาก หากรูปเล็กเกินไปจะทำให้ไม่ชัด จะใช้รูปขนาดเท่ากันกับวีดีโอเลยก็ได้คือ 640x480


-รูปที่เราเลือกก็จะมาอยู่ใน Collection ลากรูปที่ต้องการมาใส่ใน Storyboard ตามลำดับรูปที่ต้องการให้แสดง



-หากต้องการใส่ video effect ให้คลิกที่ view video effect note video effect การเปล่ยนแปลงในลักษณะต่างๆ ของรูปนั้นๆ ตาม effect ที่เราเลือก เช่น จากสีกลายเป็นขาวดำ หรือจากชัดกลายเป็นเบลอ แต่โดยปกติถ้าไม่ต้องการ effect ใดเป็นพิเศษก็จะไม่ใส่

เลือก Effect ที่ต้องการใส่แล้วลากลงไปใส่ไว้ในรูปของเรา ดาวจะกลายเป็นสีน้ำเงินแสดงว่ารูปนั้นมีการใส่ video effect หากต้องการเอา effect ออก ให้คลิกที่รูปดาวในรูปนั้น 1 ครั้งแล้วกด Delete

-ใส่ Transition คือ Effect ในระหว่างที่จะเปลี่ยนจากรูปหนึ่งสู่อีกรูปหนึ่ง หากต้องการใส่ คลิกที่ View video transition

จากนั้นเลือก Transition แล้วลากลงไปใส่ในช่องที่อยู่ระหว่างรูป จะลองกด Play ดูผลก่อนก็ได้

-จากนั้นหากต้องการใส่เสียงเพลง เสียงดนตรี คลิกที่ Import audio or music และเลือกเพลงที่ต้องการ คลิกที่ Import

-เพลงจะเข้ามาอยู่ใน Collection ลากเพลงลงไปใส่ไว้หน้าสุดของ Storyboard

-มุมมองจะเปลี่ยนเป็นแบบ Timeline สามารถคลิกให้กลับไปเป็นแบบ Storyboard ได้โดยคลิกที่ Show Storyboard

-มาดูแถบเครื่องมือในส่วนของ Story Board กันสักนิด

-ส่วนแรกเป็นส่วนควบคุมเสียง

-ส่วนที่สองเป็นการจัดการกับไมโครโฟน ในกรณีที่มีการต่อไมโครโฟน

-ส่วนนี้เครื่องหมาย + และ - เป็นการเพิ่มและลดขนาดของมุมมองใน Timeline

-เมื่อใส่เสียงเรียบร้อยแล้ว เรามาใส่ข้อความให้กับวีดีโอกัน บ้าง คลิกที่ Make titles or cradits

ในส่วนของ Make titles or cradits จะมีให้เลือกคือ
  • title at the beginning ใส่ตอนเริ่มวีดีโอ
  • title before the selected clip ใส่ก่อนหน้ารูปที่เลือก
  • title on the selected clip ใส่บนรูปที่เลือก
  • title after the selected clip ใส่หลังรูปที่เลือก
  • cradits at the end ใส่ Cradit ตอนจบวีดีโอ
-เรามาเพิ่มตอนก่อนจะเริ่มวีดีโอกัน คลิกที่ title at the beginning


-พิมพ์ข้อความที่ต้องการ จากนั้นคลิกที่ Change the title nimation



-คลิกเลือกแบบที่ต้องการ จะแสดงตัวอย่างให้ดูด้านข้าง จากนั้นหากต้องการเปลี่ยนสีและแบบอักษรคลิกที่ Change title text font and color

-ตั้งค่าต่างๆ ตามต้องการ

-เมื่อเสร็จแล้วคลิกที่ Done, add title to movie

-ข้อความจะขึ้นมาอันแรกสุด หากต้องการแก้ไขให้ดับเบิ้ลคลิกที่คลิปนั้น เพื่อที่จะเข้าไปแก้ไข

-จากนั้นเราลองมาใส่ข้อความบนรูปภาพกันบ้าง คลิกเลือกรูปภาพที่เราจะใส่ข้อความก่อน หลังจากนั้นให้คลิกที่ title on the selected clip

-พิมพ์ข้อความ จะแสดงข้อความให้ดูด้านข้าง

-เลือก Animation ที่ต้องการ เสร็จแล้วคลิกที่ Done, add title to movie

-ใน Timeline จะแสดงข้อความตรงกับรูปภาพนั้น สามารถที่จะจับเลื่อนได้

-จากนั้นเมื่อเสร็จสิ้นการทำวีดีโอแล้วบันทึกงานตามปกติ ไฟล์ที่ได้จะเป็นนามสกุล .MSWMM และการแปลงไฟล์เป็นไฟล์วีดีโอ ให้คลิกที่ Save to my computer


-ตั้งชื่อและเลือกที่เก็บวีดีโอ จากนั้นคลิก Next

-เลือกคุณภาพของวีดีโอ หากต้องการตัวเลือกอื่นๆ เพิ่มเติมคลิกที่ Shoe more choices

-จะมีตัวเลือกให้เลือกเพิ่มเติม ซึ่งจะเลือกเป็นแบบกำหนดขนาดที่แน่นอนก็ได้โดยเลือกแบบ fit size หรือตัวเลือกอื่นๆ เสร็จแล้้วคลิก Next

-จะทำการ Save รอสักครู่

-เสร้จแล้วคลิกที่ Finish เป็นอันเสร็จ หากไม่ต้องการให้เล่นวีดีโอ ให้เอาเครื่องหมายถูกที่ Play movie when I click Finish. ออก



-ไฟล์วีดีโอที่ได้จะเป็นนามสกุล .wmv


(ที่มา;http://bombik.com/node/windows-movie-maker)

วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2558

โปรแกรมที่จะนำมาใช้ในการตัดต่อหนังสั้น


        1. movie maker  ตัดต่อเบื้องต้น

        2. Sony vegas 7.0 จะดีขึ้นมานิดนึง การทำงานค่อนข้างละเอียด มีลูกเล่นเยอะมากมาย


        3. adobe premiere pro 2.0 มีการตัดต่อค่อนข้างละเอียดอ่อนมากๆ ใช้งานยากแต่ ถ้าใช้เป็น


สามารถสร้างหนังได้ใหญ่ๆเรื่องนึงเลยนะ แต่การใช้งานยุ่งยากไม่เหมาะกับมือใหม่


(ที่มา :https://sites.google.com/site/khtpshortfilm/)

เทคนิควิธีการสร้างหนังสั้น





1.หาองค์ประกอบด้านวิธีการ คือ หลักการ การวางแผน การถ่ายทำ การตัดต่อ การประเมินผล

2.หาองค์ประกอบด้านบุคลากร คือ บุคลากรในหน้าที่ต่างๆตั้งแต่ ตัวละคร บุคคลทางเทคนิค รวมไปถึง ผู้มีความสารถเฉพาะ จะดีมากๆ และอีกอย่างคือทีมเวิร์ค

3. เตรียมการผลิต คือ วางแผน เตรียมสถานที่ บท อุปกรณ์ ให้ครบ

4.บทหนัง คือ วางบท คำพูด ระยะเวลาสถานที่ เรื่องราว ที่จะสื่อออกมาเรื่องบทจะมี หลายแบบ
                           - บทแบบสมบูรณ์  ประมาณว่า เก็บทุกรายละเอียดทุกคำพูด
                           - บทแบบอย่างย่อ ประมาณว่า เปิดกว้างๆให้ผู้ชมสังเกตในความเข้าใจของตนเอง
                           - บทแบบเฉพาะ
                           - บทแบบร่างกำหนด 


5.การผลิต อย่างแรกเลย แต่ละฉากคุณต้องเลือกมุมกล้องให้เหมาะสม กับสภาพอากาศ ขนาดวัตถุ ว่าควรเห็นแค่ไหน  ขนาดมุมกล้องมีหลายแบบนะเยอะมาก ผมพูดรวมๆละกัน มีแบบ ระยะไกลมาก ระยะไกล ระยะปานกลาง ระยะใกล้  

6.ค้นหามุมกล้อง
                        - มุมคนดู ประมาณว่า เป็นมุมถ่ายจากรอบนอกของฉากนั้นๆอ่ะ เหมือนผู้ชมเป็นคนสังเกตฉากนั้นๆ
                        - มุมแทนสายตา
                        - มุมพ้อยออฟวิว มุมนี้แนะนำให้ใช้เยอะๆ ส่วนมากมุมนี้ในการทำหนัง เป็นมุมที่ใกล้ชิดเหตุการณ์ เช่น การถ่ายข้ามไหล่ของตัวละคร หรือวัตถุ

7.การเคลื่อนไหวของกล้อง
                        - การแพน การทิลท์ ประมาณว่า การทำเคลื่อนไหวกล้องให้เห็นตำแหน่งวัตถนั้นสัมพันธ์กัน

                           - การดอลลี่ การติดตามการเคลื่อนไหวเลย
                        - การซูม เป็นการเปลี่ยนองค์ประกอบภาพครับ เหมือนเน้นความสนใจในจุดๆหนึ่ง

8.เทคนิคการถ่าย
                     เอาเป็นว่าจับกล้องให้มั่น อย่างผมก็จะจับ แบบกระชับกับตัวเลย คือแขนทั้งสองข้างแนบตัวเลย และก็ไม่แนะนำให้เคลื่อนไหวกล้องแบบรวดเร็ว กล้องจะปรับโฟกัสไม่ทัน ทำให้ภาพเบลอ 

9.หลังการผลิต ก็ต้องตัดต่อ เพิ่มเสียง เอฟเฟค ความคมชัด ความเด่นชัดเรื่อง อักษรหนังสือ

10.การตัดต่อ                         1.จัดลำดับภาพ และเวลาให้ตรงและเหมาะสม อันไหนเกินยาวก็ให้ตัดทิ้ง อย่าให้ขัดอารมณ์
                        2.คือจัดภาพให้เหมาะสม เนื้อหาและโครงเรื่องที่เราวางไว้
                        3.แก้ไขข้อบกพร่อง
                        4.เพิ่มเทคนิคให้ดูสวยงาม
                        5.เรื่องเสีย

      ขั้นการตัดต่อและมาดูละกันการตัดต่อเชื่อมฉากมีอะไรบ้าง
              - การตัด cut
              - การเฟด fade
              - การทำภาพจางซ้อน
              - การกวาดภาพ
              - ซ้อนภาพ
              - ภาพมองทาจ

(ที่มา :https://sites.google.com/site/khtpshortfilm/)


ทีมงานหนังสั้น





ทีมงานหนังสั้น มี 6 ตำแหน่ง ดังนี้

4.1 ผู้กำกับ
คนนี้สำคัญที่สุด ผู้กำกับคือผู้ที่กำหนดทิศทางของหนังให้เป็นไปตามใจที่เขาหรือเธอผู้นั้นต้องการ โดยสิ่งหนึ่งที่ผู้กำกับแต่ล่ะคนจำเป็นจะต้องมี ขาดไปไม่ได้เป็นอันขาด นั่นคือสมาธิจิตจดจ่ออยู่กับงานที่ทำอยู่ตรงหน้า งานที่ว่านั้นก็ หมายถึง คอยควบคุมนักแสดง กำกับให้เขาแสดงได้อย่างเป็นธรรมชาติ เป็นไปตามบทบาทที่เราได้สร้างขึ้น และยังรวมไปถึงงานอื่นๆ เช่น การดูว่าตากล้องสามารถถ่ายภาพวางมุมกล้องออกมาได้อย่างที่เคยมีการตกลงกัน ก่อนหน้านี้ไหม หรือว่าเสียงโอเคหรือเปล่า ตัวละครมีบทพูดตรงตามที่เขียนไว้ไหม?

4.2 ผู้ช่วยผู้กำกับ 
มีหน้าที่เป็น แขนขาของผู้กำกับ เพราะในขณะที่ผู้กำกับกำลังคิดถึงงานที่อยู่ตรงหน้า ผู้ช่วยฯก็จะมาคิดถึงการทำให้งานมันเดินหน้าไปได้ หรือในอีกความหมายหนึ่งก็คือการลดภาระของผู้กำกับลงไป

4.3 ผู้จัดการกองถ่าย 
หลักๆ คือดูแลเรื่องการเงิน ว่าใช้จ่ายไปเท่าไหร่ แล้วคอยให้คำแนะนำ แก่ทีมงานว่า ควรจะใช้งบเท่าไหร่เพื่อการซื้อหรือทำอะไรสักอย่าง ว่าง่ายๆ ก็คือหน้าที่ควบคุมให้ระบบการเงินในกองถ่ายราบรื่น เป็นไปด้วยความเหมาะสมตามงบที่มีอยู่ หน้าที่นี้จำเป็นจะต้องอาศัยผู้มีความละเอียดรอบคอบในการทำงาน และมีสายตาที่ปราดเปรียวว่องไว เมื่อเห็นอะไรที่ผิดปรกติ

4.4 ตากล้อง/ผู้กำกับภาพ 
ไม่ใช่แค่เอากล้องมาวางแล้วก็ถ่ายอย่างเดียว แต่จะต้องตีความตามบทหนังที่อ่าน และถ้ามีสตอรี่บอร์ดก็ต้องถ่ายตามนั้น โดยที่จะต้องช่วยเหลือด้านเทคนิคเพื่อให้ได้ภาพอย่างที่ผู้กำกับต้องการ

4.5 คนบันทึกเสียง 
สำคัญไม่น้อยกว่าภาพเลย เพราะถ้าเสียงไม่ดีฟังที่ตัวละครพูดไม่รู้เรื่องนี้จบกัน คนบันทึกเสียงไม่ได้แค่ทำหน้าที่บันทึกเสียงอย่างเดียว แต่ยังต้องคอยช่วยผู้กำกับดูว่า ก่อนถ่ายเมื่อไปดูโลเคชั่น ก็จะบอกได้ว่าจะเกิดปัญหาอะไรขึ้นกับการอัดเสียงเพื่อที่จะแก้ไขได้ หรือระหว่างถ่าย ก็คอยดูว่าช่วงไหนอัดเสียงได้ไม่ได้ เพื่อที่จะสามารถทำให้ได้เนื้อเสียงที่มีคุณภาพ

4.6 ผู้กำกับศิลป์ 
มีหน้าที่ช่วยให้งานฉากและอุปกรณ์ประกอบฉากได้ดังภาพที่ ผู้กำกับคิดไว้ ไม่ใช่แค่เอาของมาวางๆ จัดฉากเท่านั้น แต่เช่นเดียวกับตากล้อง ก็จะต้องมีดวงตาที่เห็นเหมือนผู้กำกับ

(ที่มา : http://guy038.blogspot.com/)

ขั้นตอนสำหรับการเขียนบทภาพยนตร์


1. การค้นคว้าหาข้อมูล (research)
เป็นขั้นตอนการเขียนบทภาพยนตร์อันดับแรกที่ต้องทำถือเป็นสิ่งสำคัญหลังจากเราพบประเด็นของเรื่องแล้ว จึงลงมือค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อเสริมรายละเอียดเรื่องราวที่ถูกต้อง จริง ชัดเจน และมีมิติมากขึ้น  คุณภาพของภาพยนตร์จะดีหรือไม่จึงอยู่ที่การค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าภาพยนตร์นั้นจะมีเนื้อหาใดก็ตาม


2. การกำหนดประโยคหลักสำคัญ (premise)
หมายถึงความคิดหรือแนวความคิดที่ง่าย ๆ ธรรมดา ส่วนใหญ่มักใช้ตั้งคำถามว่า “เกิดอะไรขึ้นถ้า...” (what if) ตัวอย่างของ premise ตามรูปแบบหนังฮอลลีวู้ด เช่น เกิดอะไรขึ้นถ้าเรื่องโรเมโอ & จูเลียตเกิดขึ้นในนิวยอร์ค คือ เรื่อง West Side Story, เกิดอะไรขึ้นถ้ามนุษย์ดาวอังคารบุกโลก คือเรื่อง The Invasion of Mars, เกิดอะไรขึ้นถ้าก็อตซิล่าบุกนิวยอร์ค คือเรื่อง Godzilla, เกิดอะไรขึ้นถ้ามนุษย์ต่างดาวบุกโลก คือเรื่อง The Independence Day, เกิดอะไรขึ้นถ้าเรื่องโรเมโอ & จูเลียตเกิดขึ้นบนเรือไททานิค คือเรื่อง Titanic เป็นต้น


3. การเขียนเรื่องย่อ (synopsis)
คือเรื่องย่อขนาดสั้น ที่สามารถจบลงได้ 3-4 บรรทัด หรือหนึ่งย่อหน้า หรืออาจเขียนเป็น story outline เป็นร่างหลังจากที่เราค้นคว้าหาข้อมูลแล้วก่อนเขียนเป็นโครงเรื่องขยาย (treatment)


4. การเขียนโครงเรื่องขยาย (treatment)
เป็นการเขียนคำอธิบายของโครงเรื่อง (plot) ในรูปแบบของเรื่องสั้น โครงเรื่องขยายอาจใช้สำหรับเป็นแนวทางในการเขียนบทภาพยนตร์ที่สมบูรณ์ บางครั้งอาจใช้สำหรับยื่นของบประมาณได้ด้วย และการเขียนโครงเรื่องขยายที่ดีต้องมีประโยคหลักสำหคัญ (premise)  ที่ง่าย ๆ น่าสนใจ


5. บทภาพยนตร์ (screenplay)
สำหรับภาพยนตร์บันเทิง หมายถึง บท (script) ซีเควนส์หลัก (master scene/sequence)หรือ ซีนาริโอ (scenario) คือ บทภาพยนตร์ที่มีโครงเรื่อง บทพูด แต่มีความสมบูรณ์น้อยกว่าบทถ่ายทำ (shooting script) เป็นการเล่าเรื่องที่ได้พัฒนามาแล้วอย่างมีขั้นตอน ประกอบ ด้วยตัวละครหลักบทพูด ฉาก แอ็คชั่น ซีเควนส์ มีรูปแบบการเขียนที่ถูกต้อง เช่น บทสนทนาอยู่กึ่งกลางหน้ากระดาษฉาก เวลา สถานที่ อยู่ชิดขอบหน้าซ้ายกระดาษ ไม่มีตัวเลขกำกับช็อต และโดยหลักทั่วไปบทภาพยนตร์หนึ่งหน้ามีความยาวหนึ่งนาที


6. บทถ่ายทำ (shooting script)
คือบทภาพยนตร์ที่เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการเขียน บทถ่ายทำจะบอกรายละเอียดเพิ่มเติมจากบทภาพยนตร์ (screenplay) ได้แก่ ตำแหน่งกล้อง การเชื่อมช็อต เช่น คัท (cut) การเลือนภาพ (fade) การละลายภาพ หรือการจางซ้อนภาพ (dissolve) การกวาดภาพ (wipe) ตลอดจนการใช้ภาพพิเศษ (effect) อื่น ๆ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีเลขลำดับช็อตกำกับเรียงตามลำดับตั้งแต่ช็อตแรกจนกระทั่งจบเรื่อง


7. บทภาพ (storyboard)
คือ บทภาพยนตร์ประเภทหนึ่งที่อธิบายด้วยภาพ คล้ายหนังสือการ์ตูน ให้เห็นความต่อเนื่องของช็อตตลอดทั้งซีเควนส์หรือทั้งเรื่องมีคำอธิบายภาพประกอบ เสียงต่าง ๆ เช่น เสียงดนตรี เสียงประกอบฉาก และเสียงพูด เป็นต้น ใช้เป็นแนวทางสำหรับการถ่ายทำ หรือใช้เป็นวิธีการคาดคะเนภาพล่วงหน้า (pre-visualizing) ก่อนการถ่ายทำว่า เมื่อถ่ายทำสำเร็จแล้ว หนังจะมีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร ซึ่งบริษัทของ Walt Disney นำมาใช้กับการผลิตภาพยนตร์การ์ตูนของบริษัทเป็นครั้งแรก โดยเขียนภาพ      เหตุการณ์ของแอ็คชั่นเรียงติดต่อกันบนบอร์ด เพื่อให้คนดูเข้าใจและมองเห็นเรื่องราวล่วงหน้าได้ก่อนลงมือเขียนภาพ ส่วนใหญ่บทภาพจะมีเลขที่ลำดับช็อตกำกับไว้ คำบรรยายเหตุการณ์ มุมกล้อง และอาจมีเสียง

ประกอบด้วย


(ที่มา : http://www.moralmedias.net/index.php?option=com_content&task=view&id=33&Itemid=39)

การเขียนบทหนังสั้น



สิ่งที่สำคัญในการเขียนบทหนังสั้น
                           ก็คือ การเริ่มค้นหาวัตถุดิบหรือแรงบันดาลใจให้ได้ ว่าเราอยากจะพูด จะนำเสนอเรื่องเกี่ยวกับอะไร ตัวเราเองมีแนวความคิดเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ อย่างไร ซึ่งแรงบันดาลใจในการเขียนบทที่เราสามารถนำมาใช้ได้ก็คือ ตัวละคร แนวความคิด และเหตุการณ์ และควรจะมองหาวัตถุดิบในการสร้างเรื่องให้แคบอยู่ในสิ่งที่เรารู้สึก รู้จริง เพราะคนทำหนังสั้นส่วนใหญ่ มักจะทำเรื่องที่ไกลตัวหรือไม่ก็ไกลเกินไปจนทำให้เราไม่สามารถจำกัดขอบเขตได้
                           เมื่อเราได้เรื่องที่จะเขียนแล้วเราก็ต้องนำเรื่องราวที่ได้มาเขียน Plot (โครงเรื่อง) ว่าใคร ทำอะไร กับใคร อย่างไร ที่ไหน เมื่อไร เพราะอะไร และได้ผลลัพธ์อย่างไร ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ ข้อมูล หรือวัตถุดิบที่เรามีอยู่ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ชีวิตของแต่ละคนว่ามีแนวคิดมุมมองต่อชีวิตคนอย่างไร เพราะความเข้าใจในมนุษย์ ยิ่งเราเข้าใจมากเท่าไร เราก็ยิ่งทำหนังได้ลึกมากขึ้นเท่านั้น
และเมื่อเราได้เรื่อง ได้โครงเรื่องมาเรียบร้อยแล้ว เราก็นำมาเป็นรายละเอียดของฉาก ว่ามีกี่ฉากในแต่ละฉากมีรายละเอียดอะไรบ้าง เช่นมีใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร ไปเรื่อย ๆ จนจบเรื่อง ซึ่งความจริงแล้วขั้นตอนการเขียนบทไม่ได้มีอะไรยุ่งยากมากมาย เพราะมีการกำหนดเป็นแบบแผนไว้อยู่แล้ว แต่สิ่งที่ยาก มาก ๆ ก็คือกระบวนการคิด ว่าคิดอย่างไรให้ลึกซึ้ง คิดอย่างไรให้สมเหตุสมผล ซึ่งวิธีคิดเหล่านี้ไม่มีใครสอนกันได้ทุกคน ต้องค้นหาวิธีลองผิดลองถูก จนกระทั่ง ค้นพบวิธีคิดของตัวเอง

(ที่มา: http://www.moralmedias.net/index.phpoption=com_content&task=view&id=33&Itemid=39)

ตัวอย่างคลิปวิธีแก้ไขปัญหาวัยรุ่นทะเลาะกัน



คลิปตัวอย่างปัญหาการทะเลาะกันของวัยรุ่น




ข้อเสนอแนะของกลุ่มในการแก้ปัญหาการทะเลาะวิวาทของวัยรุ่น




1.สร้างความสัมพันธ์ที่ดี
2.รับฟังปัญหาเด็กเสมอ  ไม่ตำหนิ  หรือสั่งสอนเร็วเกินไป  ท่าทีเป็นกลาง
3.เข้าใจปัญหา  หาข้อมูลเพื่อให้รู้สาเหตุ  และแนวทางการแก้ไขปัญหา
4.มองเด็กในแง่ดี  มีความหวังในการแก้ปัญหาเสมอ
5.กระตุ้นให้คิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง  มีทางเลือกหลายๆทาง  วิเคราะห์ทางเลือกร่วมกัน
6.ชี้แนะทางแก้ไขปัญหาในกรณีที่เด็กคิดไม่ออกด้วยตัวเอง
7.เป็นแบบอย่างที่ดี 
8.ใช้กิจกรรมช่วย  กีฬา  ดนตรี  ศิลปะ  กิจกรรมกลุ่ม
9.ให้เพื่อนช่วยเพื่อน  อธิบายให้เพื่อนเข้าใจกัน  ยอมรับและอยากช่วยเหลือกัน  ไม่ตัวใครตัวมัน
  10.ชมเชยเมื่อทำได้ดี
  11.เมื่อทำผิด  มีวิธีตักเตือน  ชักจูงให้อยากเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเองให้ดีขึ้น

แนวทางการแก้ไขปัญหาของหน่วยงานต่างๆ



               1.ให้ทางสถาบันการศึกษาแจ้งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจค้นอาวุธนักศึกษาทั้งเข้าและออก รวมทั้งหลังจากที่นักศึกษากลับบ้านติดตั้งโทรทัศน์วงจรปิดประตูทางเข้าออก รวมทั้งฝั่งตรงข้ามสถาบัน

     2. ขอให้ผู้ใหญ่ทั้งในโรงเรียน ในบ้านและในสังคม เป็นแบบอย่างในสิ่งที่ผู้ใหญ่ต้องการให้เยาวชนเป็นคนกล้าแสดงออกที่เหมาะสมกับกาลเทศะ 

              3.ทำให้โรงเรียนหรือสถาบันน่าอยู่ และสร้างการเรียนรู้ในสถานที่ที่เด็กชอบหนีไปเที่ยว ติดตามศิษย์เก่าที่มีพฤติกรรมไม่ดี 

             4.จัดทำประวัตินักศึกษาปี 1 ที่เพิ่งเข้าเรียนใหม่นำข้อมูลส่งตำรวจติดตามพฤติกรรม  ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้กำหนดแผนป้องกัน และระงับเหตุนักเรียน นักศึกษาก่อเหตุทะเลาะวิวาท 

            5.สร้างทางเลือกในกิจกรรมที่เร้าใจเยาวชน จัดกิจกรรมระหว่างสถาบันการศึกษา เช่น การพัฒนาวัด ทำบุญร่วมกัน  จัดการเรียนรู้ให้เยาวชนเห็นผลกระทบที่เป็นรูปธรรม ทั้งดีและร้ายของการพนัน การเสพยา พฤติกรรมเพศที่ไม่เหมาะสม รวมทั้งสร้างวินัยให้เยาวชนเข้าใจขอบเขตที่เหมาะสม ที่ไม่เป็นผลร้ายแก่ตัวเองและผู้อื่น

            6. จัดตำรวจเข้าไปเป็นวิทยากรอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับข้อกฎหมายและบทลงโทษแก่เยาวชนที่กระทำความผิด

            7. หน่วยงานต่างๆของรัฐและเอกชน ควรมีส่วนร่วมเสมอ  ในการส่งเสริมให้เด็กได้พัฒนาขึ้น

            8. นักศึกษาอาชีวศึกษาที่ก่อเหตุทะเลาะวิวาทต้องถูกลงโทษด้วยกฎหมายที่เด็ดขาด   เชื่อว่าน่าจะมีผลให้นักศึกษาหวาดเกรงโทษ และก่อเหตุน้อยลง


(ที่มา:http://meeenaja.blogspot.com/2013/08/blog-post_22.html)

ผลกระทบต่อสังคมจากการทะเลาะวิวาทกันของวัยรุ่น



               1. เป็นเหตุให้เกิดความสูญเสีย ไม่เพียงแต่จะสร้างปัญหาให้กับตัวเองแล้ว ยังทำให้สถาบันการศึกษาเสื่อมเสียชื่อเสียง และที่สำคัญกว่านั้นคือเป็นปัญหาให้กับสังคมและคนรอบข้าง เพราะนอกจากนักเรียนโรงเรียนคู่อริจะได้รับบาดเจ็บแล้ว คนส่วนหนึ่งที่ต้องพลอยเดือดร้อนไปด้วยคือ คนที่โดนลูกหลงนั่นเอง ซึ่งเราก็มักจะเห็นในข่าวอยู่เสมอว่า คนที่ไม่รู้เรื่องหรือไม่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยมักจะได้รับบาดเจ็บ บางรายถึงกับต้องเข้าโรงพยาบาลนอนให้น้ำเกลือเป็นเดือนๆ บางรายถึงกับต้องเสียชีวิตไปเปล่าๆจากการทะเลาะวิวาทของเด็กวัยรุ่นเหล่านี้

               2. นักเรียนหรือนักศึกษาที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวเป็นกลุ่มที่มีมโนภาพแห่งตนต่ำกว่านักเรียนอาชีวะทั่วไป คือ มองภาพพจน์ตัวเองต่ำ รู้สึกมีปมด้อย ขาดการยอมรับจากสังคม และมีความวิตกกังวล และกลุ่มเพื่อนที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาพฤติกรรมก้าวร้าว และมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมก้าวร้าว กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

              3. ก่อให้เกิดอาชญากรรมของเด็กวัยรุ่นที่กระทำต่อแท็กซี่และคนทั่วไปที่ไม่ได้รู้เรื่อง เช่น เด็กจี้แท็กซี่เพราะต้องการเอาเงินไปเที่ยวกลางคืน การตี ฆ่า ข่มขืน เด็กแว้น (เด็กกวนเมือง) ที่เกิดขึ้นทุกหัวระแหงของสังคมไทย หรือ เด็กผู้หญิงตบตีกันแล้วถ่านคลิปเอาไว้โชว์พาวข่มขู่เด็กอื่นๆ


              4. เป็นเหตุปัจจัยที่ซับซ้อนและใหญ่โตระดับโครงสร้างทางสังคม ซึ่งไม่สามารถแก้ไขแต่เพียงตัวปัญหาหรือปรากฏการณ์ที่มองเห็นเท่านั้น เหตุปัจจัยที่ว่านี้ได้แก่ ปัญหาด้านชีววิทยา / จิตวิทยาวัยรุ่น ปัญหาการอบรมเลี้ยงดูของครอบครัว ระบบการศึกษา อิทธิพลจากสื่อและโฆษณา ปัญหาบริโภคนิยม

             5. เมื่อเกิดปัญหาการทะเลาะวิวาท สถาบันเหล่านี้จะถูกสร้างขึ้นโดยกระบวนการที่เป็นกลไกทางสังคมสั่งสมจนกลายเป็นประเพณีปฏิบัติสืบทอดกันมา นอกจากนั้นการให้ความหมายหรือตีความ โดยเฉพาะการให้ความหมายและการตีความต่อโลกและสังคมของการก่อเหตุทะเลาะวิวาท จะเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่เกิดขึ้นเมื่อดำเนินวิถีชีวิตอยู่ในสังคมวัยรุ่น


(ที่มา : https://www.facebook.com/ruksankom/posts/535696413204466)

สาเหตุปัญหาการทะเลาะวิวาทกันของวัยรุ่น


          1. เนื่องจากสถานศึกษาไม่ให้ความร่วมมือเท่าที่ควร การไม่ให้การสนับสนุนและเห็นความสำคัญของปัญหาของผู้บริหาร ในการที่ตำรวจจะเข้าไปตรวจค้นอาวุธในสถาบันการศึกษา เพื่อเป็นการลดและป้องกันการก่อเหตุทะเลาะวิวาท
          2. เกิดจากการถูกทำร้ายร่างกายมาก่อน
          3. เกิดจากการเป็นศัตรูคู่อริ ทำให้บุคคลที่เกี่ยวข้องขาดความร่วมมือในการปฏิบัติ
          4. เกิดจากความต้องการอวดให้รุ่นน้องเห็น 
          5. มาตรการที่กำหนดไว้ไม่สอดคล้องกับปัญหาที่เกิดขึ้นจริง (เตือนใจ ชาลี 2539)
          6. เกิดจากอารมณ์ชั่ววูบ ใจร้อน และขาดสติ เป็นความแค้นส่วนตัว ไม่ชอบหน้ากัน และไม่ถูกกัน เกิดจากการปลูกฝังค่านิยมที่ผิดๆ จากรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง จากเรื่องชู้สาว และมาพัวพันกับเพื่อนผู้หญิงในสถาบัน เพื่อสร้างให้เกิดความรู้สึกศักดิ์ศรีหรือความยิ่งของสถาบัน เป็นต้น
         7. เกิดจากความรู้สึกเสียศักดิ์ศรี ความคึกคะนองตามธรรมชาติของวัยรุ่น และการถูกยั่วยุ ตลอดจนวันรุ่นมีภูมิต้านทานต่อการยั่วยุต่ำ


                    (ที่มา :  https://www.facebook.com/ruksankom/posts/535696413204466)

ตัวอย่างหนังสั้น






วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2558

หนังสั้น


ภาพยนตร์สั้น หรือ หนังสั้น (อังกฤษShort film, หรือเรียกสั้น ๆ ว่า Short) เป็นประเภทของภาพยนตร์อย่างหนึ่งที่เหมือนกับภาพยนตร์ทั่วไป ที่เล่าเรื่องด้วยภาพและเสียงเฉกเช่นภาพยนตร์ความยาวปกติ เพียงแต่ว่าเป็นการเล่าเรื่องประเด็นสั้น ๆ หรือประเด็นเดียวให้ได้ใจความ มาตรฐานของภาพยนตร์สั้น คือ มีความยาวเต็มที่ไม่เกิน 40 นาที
สำหรับในประเทศไทย ภาพยนตร์สั้นเรื่องแรกเกิดขึ้นในสมัยของรัชกาลที่ 5 เมื่อครั้งเสด็จประพาสยุโรป ความยาว 1 นาทีโดยช่างภาพของบริษัทลูมิแอร์ (Lumiere) ของฝรั่งเศส ผู้ผลิตและพัฒนากล้องถ่ายภาพยนตร์สำคัญรายหนึ่งของโลก
ปัจจุบัน ภาพยนตร์สั้นได้รับความสนใจและตื่นตัวอย่างมาก มีผู้สร้าง ผู้ผลิตหลายรายมากขึ้น และในการแจกรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 80 ในปี ค.ศ. 2012 ที่เป็นการแจกรางวัลให้แก่ภาพยนตร์ในปี ค.ศ. 2011 ก็เป็นครั้งแรกด้วยที่มีการแจกรางวัลให้แก่ภาพยนตร์ประเภทนี้ด้วย โดยแบ่งออกเป็น 2 รางวัล คือ ภาพยนตร์สั้น (Live Action) และแอนิเมชั่นสั้น (Animated)
(ที่มา :http://th.wikipedia.org/wiki/)

ปัญหาการทะเลาะวิวาทของวัยรุ่น





      ปัญหาทะเลาะวิวาทของเด็กวัยรุ่นในสังคมไทยเริ่มรุนแรงขึ้นทุกวันซึ่งบ้างก็มีทั้งที่เป็นข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ และไม่เป็นข่าว ซึ่งในแต่ละครั้งก็จะมีผู้ที่ได้รับบาดเจ็บหรือบาดเจ็บกันทั้งสองฝ่าย ทำให้สร้างความเดือดร้อนกับตัวผู้ก่อเหตุเองและผู้ปกครองของกลุ่มเด็กวัยรุ่น ซึ่งที่ผ่านมาทางหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง ก็ได้มีการหาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหานี้มาโดยตลอด เพื่อลดและป้องกันทะเลาะวิวาทของกลุ่มวัยรุ่น 

      ปัญหานี้ได้สร้างความเสียหายทั้งกับตัวนักศึกษาเองและชื่อเสียงของสถาบันอีกด้วย ปัจจุบันนี้ นักเรียน นักศึกษาอาชีวศึกษามีการประกาศสงครามกันผ่านทางอินเตอร์เน็ตในเว็บไซต์ต่างๆ โดยมีการเขียนคำท้าทาย หรือประกาศว่าจะยึดสัญลักษณ์ เช่น หัวเข็มขัด ของสถาบันฝ่ายตรงข้ามให้ได้ รวมถึงใช้ถ้อยคำยั่วยุรุนแรงว่าจะ “เด็ดหัว” นักศึกษาสถาบันคู่อริ ซึ่งในช่วงที่ใกล้วันสถาปนาของแต่ละสถาบันการทำสงครามทางอินเตอร์เน็ตยิ่งรุนแรง และน่าเป็นห่วง

      ซึ่งในปัจจุบันไม่เพียงแค่กลุ่มวัยรุ่นเท่านั้นยังเข้าไปถึงการทะเลาะวิวาทกันข้ามสถาบันอีกด้วย การทะเลาะวิวาท ปะทะ ต่อสู้ เพื่อ "ศักดิ์ศรีสถาบัน" ของ "นักศึกษาอาชีวะ" ได้กลายเป็น "ธรรมเนียมปฏิบัติ" ที่ยากจะแก้ไข แต่ก็จำเป็นต้องแก้ เนื่องจากปัญหาดังกล่าวนอกจากจะสร้างความอกสั่นขวัญผวาให้แก่สังคม ทำให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตแล้ว ยังสร้างความเสื่อมเสียและทำลายความน่าเชื่อถือให้กับสถาบันการศึกษา ซึ่งเป็น"เสาหลัก" ของการผลิตทรัพยากรมนุษย์อันเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศอีกด้วย เหตุการณ์การทะเลาะวิวาท ระหว่างนักศึกษาอาชีวะต่างสถาบันที่นับวันยิ่งจะทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยเมื่อไม่นานมานี้ได้เกิดกรณีการใช้อาวุธปืนไล่ยิงกันจนเป็นเหตุให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตนั้น ถือเป็น "ปัญหาเรื้อรัง" ที่สังคมต้องการหาหนทางเยียวยา และแก้ไขอย่างเร่งด่วน 



                            (ที่มา : https://www.facebook.com/ruksankom/posts/535696413204466)