วันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

Project คอมพิวเตอร์


กลุ่มที่ 4
สมาชิกในกลุ่ม   1.น.ส.กนกวรรณ   เหมประพันธุ์   เลขที่ 12
                        2.น.ส.จิรภัทร        ภัทรโกวิท       เลขที่ 15
                        3.น.ส.วิภาวี           เหมโลหะ        เลขที่ 17
                        4.น.ส.ภพพร          แกล้วกล้า       เลขที่ 26
                        ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/13







วิธีการดำเนินการ
                1.หาข้อมูลว่าต้องใช้ซอฟต์แวร์ใดบ้างในการตัดต่อหนังสั้น
                2.หาข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการใช้โปรแกรมนั้นๆ
                3.ปรึกษาหรือสอบถามผู้ที่มีความรู้ หรือค้นคว้าวิธีการใช้จากอินเทอร์เน็ต
                4.ทดลองใช้งานโปรแกรมตัดต่อหนังสั้น
                5.แบ่งงานกันทำในส่วนที่แต่ละคนถนัด เพื่อความสมบูรณ์และครบถ้วนของข้อมูล

ผลการดำเนินการ
                1.ได้รู้เกี่ยวกับโปรแกรมที่นิยมนำมาตัดต่อหนังสั้นคือ
1).movie marker
2).sony vegas
3).adobe premiere
                2.ได้รู้ถึงวิธีการตัดต่อหนังสั้น วิธีการถ่ายวิดีโอและ วิธีการเขียนบท
แหล่งเรียนรู้
                1.อินเทอร์เน็ต



                2.ศึกษาจากผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ

หลักฐานประกอบ





(ภาพการศึกษาวิธีการตัดต่อวิดีโอ)

     ภาพแสดงการทดลองใช้โปรแกรม Sony Vegas




(ทดลองใส่ข้อความในวิดีโอ)





 (ตัวอย่างการทดลองตัดต่อวิดีโอ)




(ตัวอย่างวิดีโอที่ได้ทดลองตัดต่อเบื้องต้น)





วิดีโอสอนการตัดต่อวิดีโอด้วยโปรแกรม Sony Vegas





วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2558

คลิปวิธีการตัดต่อหนังสั้นด้วยโปรแกรม Movie Maker




วิธีการใช้งานโปรแกรม Movie Marker

  

-ขั้นตอนแรกเปิดโปรแกรมมาก่อนเลยค่ะ โดยไปที่ Start > All Programs แล้วหาโปรแกรมนี้ให้เจอค่ะ สัญลักษณ์ของโปรแกรมเป็นแบบในภาพ


-เมื่อเปิดเข้ามาในโปรแกรม หน้าตาของโปรแกรมจะเป็นดังภาพ


ส่วนต่างๆ ของโปรแกรม
  • Movie Task เป็นแถบงาน ที่มีตำสั่งต่างๆ สำหรับการทำ VDO ให้เราเลือกใช้
  • Collection จะเป็นที่เก็บภาพ วีดีโอ เพลง ที่เรา Import เข้ามา
  • Preview ส่วนแสดงวีดีโอที่เราได้ทำขึ้น
  • Storyboard เป็นส่วนที่แสดงภาพข้อความ วีดีโอ เสียง ตามลำดับเวลา สามารถเปลี่ยนเป็นมุมมองแบบ Timeline ได้

มาดูในราละเอียดส่วนต่างๆ ของ Movie Tasks กันบ้าง มีทั้งหมด 4 ส่วน
  • Capture Video เป็นส่วนนำเข้าวีดีโอ รูปภาพ และเสียง
  • Edit Movie จะมีคำสั่งเกี่ยวกับการใส่ video effects, video transitionsหรือการเปลี่ยนภาพในวีดีโอ และการใส่ข้อความลงในวีดีโอ
  • Finish Movie ส่วนจัดการกับ VDO เมื่อทำเสร็จแล้ว
  • Movie Making Trips เป็นคำแนะนำการใช้ต่างๆ

-ปุ่มควบคุมการเล่นแสดงตัวอย่างวีดีโอ


เรามา เริ่มทำวีดีโอกันเลยค่ะ เริ่มจากการนำรูปเข้า โดยไปคลิกที่ Import Picture จากนั้นคลิกเลือกรูป และคลิก Import Note รูปที่นำมาทำวีดีโอ อาจจะเป็นรูปที่มีการ resize หรือลดขนาดแล้ว โดยปกติในวีดีโอที่ทำจะมีขนาด 640x480 ดังนั้นภาพที่มาทำไม่ควรเล็กหรือใหญ่เกินไป หากใหญ่จะทำให้วีดีโอที่ทำเสร็จมีขนาดใหญ่มาก หากรูปเล็กเกินไปจะทำให้ไม่ชัด จะใช้รูปขนาดเท่ากันกับวีดีโอเลยก็ได้คือ 640x480


-รูปที่เราเลือกก็จะมาอยู่ใน Collection ลากรูปที่ต้องการมาใส่ใน Storyboard ตามลำดับรูปที่ต้องการให้แสดง



-หากต้องการใส่ video effect ให้คลิกที่ view video effect note video effect การเปล่ยนแปลงในลักษณะต่างๆ ของรูปนั้นๆ ตาม effect ที่เราเลือก เช่น จากสีกลายเป็นขาวดำ หรือจากชัดกลายเป็นเบลอ แต่โดยปกติถ้าไม่ต้องการ effect ใดเป็นพิเศษก็จะไม่ใส่

เลือก Effect ที่ต้องการใส่แล้วลากลงไปใส่ไว้ในรูปของเรา ดาวจะกลายเป็นสีน้ำเงินแสดงว่ารูปนั้นมีการใส่ video effect หากต้องการเอา effect ออก ให้คลิกที่รูปดาวในรูปนั้น 1 ครั้งแล้วกด Delete

-ใส่ Transition คือ Effect ในระหว่างที่จะเปลี่ยนจากรูปหนึ่งสู่อีกรูปหนึ่ง หากต้องการใส่ คลิกที่ View video transition

จากนั้นเลือก Transition แล้วลากลงไปใส่ในช่องที่อยู่ระหว่างรูป จะลองกด Play ดูผลก่อนก็ได้

-จากนั้นหากต้องการใส่เสียงเพลง เสียงดนตรี คลิกที่ Import audio or music และเลือกเพลงที่ต้องการ คลิกที่ Import

-เพลงจะเข้ามาอยู่ใน Collection ลากเพลงลงไปใส่ไว้หน้าสุดของ Storyboard

-มุมมองจะเปลี่ยนเป็นแบบ Timeline สามารถคลิกให้กลับไปเป็นแบบ Storyboard ได้โดยคลิกที่ Show Storyboard

-มาดูแถบเครื่องมือในส่วนของ Story Board กันสักนิด

-ส่วนแรกเป็นส่วนควบคุมเสียง

-ส่วนที่สองเป็นการจัดการกับไมโครโฟน ในกรณีที่มีการต่อไมโครโฟน

-ส่วนนี้เครื่องหมาย + และ - เป็นการเพิ่มและลดขนาดของมุมมองใน Timeline

-เมื่อใส่เสียงเรียบร้อยแล้ว เรามาใส่ข้อความให้กับวีดีโอกัน บ้าง คลิกที่ Make titles or cradits

ในส่วนของ Make titles or cradits จะมีให้เลือกคือ
  • title at the beginning ใส่ตอนเริ่มวีดีโอ
  • title before the selected clip ใส่ก่อนหน้ารูปที่เลือก
  • title on the selected clip ใส่บนรูปที่เลือก
  • title after the selected clip ใส่หลังรูปที่เลือก
  • cradits at the end ใส่ Cradit ตอนจบวีดีโอ
-เรามาเพิ่มตอนก่อนจะเริ่มวีดีโอกัน คลิกที่ title at the beginning


-พิมพ์ข้อความที่ต้องการ จากนั้นคลิกที่ Change the title nimation



-คลิกเลือกแบบที่ต้องการ จะแสดงตัวอย่างให้ดูด้านข้าง จากนั้นหากต้องการเปลี่ยนสีและแบบอักษรคลิกที่ Change title text font and color

-ตั้งค่าต่างๆ ตามต้องการ

-เมื่อเสร็จแล้วคลิกที่ Done, add title to movie

-ข้อความจะขึ้นมาอันแรกสุด หากต้องการแก้ไขให้ดับเบิ้ลคลิกที่คลิปนั้น เพื่อที่จะเข้าไปแก้ไข

-จากนั้นเราลองมาใส่ข้อความบนรูปภาพกันบ้าง คลิกเลือกรูปภาพที่เราจะใส่ข้อความก่อน หลังจากนั้นให้คลิกที่ title on the selected clip

-พิมพ์ข้อความ จะแสดงข้อความให้ดูด้านข้าง

-เลือก Animation ที่ต้องการ เสร็จแล้วคลิกที่ Done, add title to movie

-ใน Timeline จะแสดงข้อความตรงกับรูปภาพนั้น สามารถที่จะจับเลื่อนได้

-จากนั้นเมื่อเสร็จสิ้นการทำวีดีโอแล้วบันทึกงานตามปกติ ไฟล์ที่ได้จะเป็นนามสกุล .MSWMM และการแปลงไฟล์เป็นไฟล์วีดีโอ ให้คลิกที่ Save to my computer


-ตั้งชื่อและเลือกที่เก็บวีดีโอ จากนั้นคลิก Next

-เลือกคุณภาพของวีดีโอ หากต้องการตัวเลือกอื่นๆ เพิ่มเติมคลิกที่ Shoe more choices

-จะมีตัวเลือกให้เลือกเพิ่มเติม ซึ่งจะเลือกเป็นแบบกำหนดขนาดที่แน่นอนก็ได้โดยเลือกแบบ fit size หรือตัวเลือกอื่นๆ เสร็จแล้้วคลิก Next

-จะทำการ Save รอสักครู่

-เสร้จแล้วคลิกที่ Finish เป็นอันเสร็จ หากไม่ต้องการให้เล่นวีดีโอ ให้เอาเครื่องหมายถูกที่ Play movie when I click Finish. ออก



-ไฟล์วีดีโอที่ได้จะเป็นนามสกุล .wmv


(ที่มา;http://bombik.com/node/windows-movie-maker)

วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2558

โปรแกรมที่จะนำมาใช้ในการตัดต่อหนังสั้น


        1. movie maker  ตัดต่อเบื้องต้น

        2. Sony vegas 7.0 จะดีขึ้นมานิดนึง การทำงานค่อนข้างละเอียด มีลูกเล่นเยอะมากมาย


        3. adobe premiere pro 2.0 มีการตัดต่อค่อนข้างละเอียดอ่อนมากๆ ใช้งานยากแต่ ถ้าใช้เป็น


สามารถสร้างหนังได้ใหญ่ๆเรื่องนึงเลยนะ แต่การใช้งานยุ่งยากไม่เหมาะกับมือใหม่


(ที่มา :https://sites.google.com/site/khtpshortfilm/)

เทคนิควิธีการสร้างหนังสั้น





1.หาองค์ประกอบด้านวิธีการ คือ หลักการ การวางแผน การถ่ายทำ การตัดต่อ การประเมินผล

2.หาองค์ประกอบด้านบุคลากร คือ บุคลากรในหน้าที่ต่างๆตั้งแต่ ตัวละคร บุคคลทางเทคนิค รวมไปถึง ผู้มีความสารถเฉพาะ จะดีมากๆ และอีกอย่างคือทีมเวิร์ค

3. เตรียมการผลิต คือ วางแผน เตรียมสถานที่ บท อุปกรณ์ ให้ครบ

4.บทหนัง คือ วางบท คำพูด ระยะเวลาสถานที่ เรื่องราว ที่จะสื่อออกมาเรื่องบทจะมี หลายแบบ
                           - บทแบบสมบูรณ์  ประมาณว่า เก็บทุกรายละเอียดทุกคำพูด
                           - บทแบบอย่างย่อ ประมาณว่า เปิดกว้างๆให้ผู้ชมสังเกตในความเข้าใจของตนเอง
                           - บทแบบเฉพาะ
                           - บทแบบร่างกำหนด 


5.การผลิต อย่างแรกเลย แต่ละฉากคุณต้องเลือกมุมกล้องให้เหมาะสม กับสภาพอากาศ ขนาดวัตถุ ว่าควรเห็นแค่ไหน  ขนาดมุมกล้องมีหลายแบบนะเยอะมาก ผมพูดรวมๆละกัน มีแบบ ระยะไกลมาก ระยะไกล ระยะปานกลาง ระยะใกล้  

6.ค้นหามุมกล้อง
                        - มุมคนดู ประมาณว่า เป็นมุมถ่ายจากรอบนอกของฉากนั้นๆอ่ะ เหมือนผู้ชมเป็นคนสังเกตฉากนั้นๆ
                        - มุมแทนสายตา
                        - มุมพ้อยออฟวิว มุมนี้แนะนำให้ใช้เยอะๆ ส่วนมากมุมนี้ในการทำหนัง เป็นมุมที่ใกล้ชิดเหตุการณ์ เช่น การถ่ายข้ามไหล่ของตัวละคร หรือวัตถุ

7.การเคลื่อนไหวของกล้อง
                        - การแพน การทิลท์ ประมาณว่า การทำเคลื่อนไหวกล้องให้เห็นตำแหน่งวัตถนั้นสัมพันธ์กัน

                           - การดอลลี่ การติดตามการเคลื่อนไหวเลย
                        - การซูม เป็นการเปลี่ยนองค์ประกอบภาพครับ เหมือนเน้นความสนใจในจุดๆหนึ่ง

8.เทคนิคการถ่าย
                     เอาเป็นว่าจับกล้องให้มั่น อย่างผมก็จะจับ แบบกระชับกับตัวเลย คือแขนทั้งสองข้างแนบตัวเลย และก็ไม่แนะนำให้เคลื่อนไหวกล้องแบบรวดเร็ว กล้องจะปรับโฟกัสไม่ทัน ทำให้ภาพเบลอ 

9.หลังการผลิต ก็ต้องตัดต่อ เพิ่มเสียง เอฟเฟค ความคมชัด ความเด่นชัดเรื่อง อักษรหนังสือ

10.การตัดต่อ                         1.จัดลำดับภาพ และเวลาให้ตรงและเหมาะสม อันไหนเกินยาวก็ให้ตัดทิ้ง อย่าให้ขัดอารมณ์
                        2.คือจัดภาพให้เหมาะสม เนื้อหาและโครงเรื่องที่เราวางไว้
                        3.แก้ไขข้อบกพร่อง
                        4.เพิ่มเทคนิคให้ดูสวยงาม
                        5.เรื่องเสีย

      ขั้นการตัดต่อและมาดูละกันการตัดต่อเชื่อมฉากมีอะไรบ้าง
              - การตัด cut
              - การเฟด fade
              - การทำภาพจางซ้อน
              - การกวาดภาพ
              - ซ้อนภาพ
              - ภาพมองทาจ

(ที่มา :https://sites.google.com/site/khtpshortfilm/)


ทีมงานหนังสั้น





ทีมงานหนังสั้น มี 6 ตำแหน่ง ดังนี้

4.1 ผู้กำกับ
คนนี้สำคัญที่สุด ผู้กำกับคือผู้ที่กำหนดทิศทางของหนังให้เป็นไปตามใจที่เขาหรือเธอผู้นั้นต้องการ โดยสิ่งหนึ่งที่ผู้กำกับแต่ล่ะคนจำเป็นจะต้องมี ขาดไปไม่ได้เป็นอันขาด นั่นคือสมาธิจิตจดจ่ออยู่กับงานที่ทำอยู่ตรงหน้า งานที่ว่านั้นก็ หมายถึง คอยควบคุมนักแสดง กำกับให้เขาแสดงได้อย่างเป็นธรรมชาติ เป็นไปตามบทบาทที่เราได้สร้างขึ้น และยังรวมไปถึงงานอื่นๆ เช่น การดูว่าตากล้องสามารถถ่ายภาพวางมุมกล้องออกมาได้อย่างที่เคยมีการตกลงกัน ก่อนหน้านี้ไหม หรือว่าเสียงโอเคหรือเปล่า ตัวละครมีบทพูดตรงตามที่เขียนไว้ไหม?

4.2 ผู้ช่วยผู้กำกับ 
มีหน้าที่เป็น แขนขาของผู้กำกับ เพราะในขณะที่ผู้กำกับกำลังคิดถึงงานที่อยู่ตรงหน้า ผู้ช่วยฯก็จะมาคิดถึงการทำให้งานมันเดินหน้าไปได้ หรือในอีกความหมายหนึ่งก็คือการลดภาระของผู้กำกับลงไป

4.3 ผู้จัดการกองถ่าย 
หลักๆ คือดูแลเรื่องการเงิน ว่าใช้จ่ายไปเท่าไหร่ แล้วคอยให้คำแนะนำ แก่ทีมงานว่า ควรจะใช้งบเท่าไหร่เพื่อการซื้อหรือทำอะไรสักอย่าง ว่าง่ายๆ ก็คือหน้าที่ควบคุมให้ระบบการเงินในกองถ่ายราบรื่น เป็นไปด้วยความเหมาะสมตามงบที่มีอยู่ หน้าที่นี้จำเป็นจะต้องอาศัยผู้มีความละเอียดรอบคอบในการทำงาน และมีสายตาที่ปราดเปรียวว่องไว เมื่อเห็นอะไรที่ผิดปรกติ

4.4 ตากล้อง/ผู้กำกับภาพ 
ไม่ใช่แค่เอากล้องมาวางแล้วก็ถ่ายอย่างเดียว แต่จะต้องตีความตามบทหนังที่อ่าน และถ้ามีสตอรี่บอร์ดก็ต้องถ่ายตามนั้น โดยที่จะต้องช่วยเหลือด้านเทคนิคเพื่อให้ได้ภาพอย่างที่ผู้กำกับต้องการ

4.5 คนบันทึกเสียง 
สำคัญไม่น้อยกว่าภาพเลย เพราะถ้าเสียงไม่ดีฟังที่ตัวละครพูดไม่รู้เรื่องนี้จบกัน คนบันทึกเสียงไม่ได้แค่ทำหน้าที่บันทึกเสียงอย่างเดียว แต่ยังต้องคอยช่วยผู้กำกับดูว่า ก่อนถ่ายเมื่อไปดูโลเคชั่น ก็จะบอกได้ว่าจะเกิดปัญหาอะไรขึ้นกับการอัดเสียงเพื่อที่จะแก้ไขได้ หรือระหว่างถ่าย ก็คอยดูว่าช่วงไหนอัดเสียงได้ไม่ได้ เพื่อที่จะสามารถทำให้ได้เนื้อเสียงที่มีคุณภาพ

4.6 ผู้กำกับศิลป์ 
มีหน้าที่ช่วยให้งานฉากและอุปกรณ์ประกอบฉากได้ดังภาพที่ ผู้กำกับคิดไว้ ไม่ใช่แค่เอาของมาวางๆ จัดฉากเท่านั้น แต่เช่นเดียวกับตากล้อง ก็จะต้องมีดวงตาที่เห็นเหมือนผู้กำกับ

(ที่มา : http://guy038.blogspot.com/)